ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในอำเภอสุคิริน อำเภอใกล้เคียง และ ต่างจังหวัด ซึ่งมีคู่ชกทั้งหมด 12 คู่
การแข่งขันทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน มวยไทย
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 นาย อรุณ ศรีใส นายอำเภอสุคิริน มอบหมายให้ นาย เที่ยง จันทร์ทอง ปลัดผู้ชำนาญงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันการชกมวยไทย ณ อาคารอเนกประสงค์ตามผลไม้ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในอำเภอสุคิริน อำเภอใกล้เคียง และ ต่างจังหวัด ซึ่งมีคู่ชกทั้งหมด 12 คู่
ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในอำเภอสุคิริน อำเภอใกล้เคียง และ ต่างจังหวัด ซึ่งมีคู่ชกทั้งหมด 12 คู่
การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 นาย อรุณ ศรีใส นายอำเภอสุคิริน เป็นประธานเปิด การแข่งขันการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน " ดีเกฮูลู " ณ อาคารอเนกประสงค์ตามผลไม้ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ในงานนี้มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันมากมาย อาทิเช่น ตัวแทนจาก ตัวแทนจากอำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก ตัวแทนจาก อำเภอแว้ง เป็นต้น
ในงานนี้มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันมากมาย อาทิเช่น ตัวแทนจาก ตัวแทนจากอำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก ตัวแทนจาก อำเภอแว้ง เป็นต้น
การแสดงดีเกฮูลูของน้องๆ จากโรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ ๓๙ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
นาย อรุณ ศรีใส นายอำเภอสุคิริน มอบรางวัลเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับน้องๆ จากโรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ ๓๙ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ทีมได้รับรางวัลการแข่งขันการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน " ดีเกฮูลู "
วันรายาฮัจญี ( อีดิลอัฏฮา )
วันประกอบพิธีฮัจญี ณ นคร มักกะฮ์ ประชาชนทั่วไปนิยมทำพิธีละหมาดสุนัต หลังจากพิธีละหมาดจะมีการทำกุรบั่น 3 วัน กล่าวคือ การเชือดสัตว์เพื่อบริจาคแจกจ่ายแก่ผู้ยากจน สัตว์ที่เชือดได้แก่ แพะ แกะ อูฐ และวัว ซึ่งเรียกว่า “อุฎฮิยฮ.” แต่คนทั่วไปมักเรียกสัตว์ที่เชือดเป็นพลีนี้ว่า
“กุรบั่น” ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ทำให้เข้าใกล้ชิด
ฮารีรายา อีลดีลฟีตรี

การละหมาดในวันอีดิลฟิตรีเป็นการละหมาดอีกครั้งหนึ่งที่มีเพียงครั้งเดียวในรอบ 1 ปี
มุสลิมส่วนใหญ่จะถือเอาวันนี้เป็นวันรวมญาติก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะอยู่หนใดในโลก พอถึงวันอีดิลฟิตรีแล้วทุกคนจะกลับไปหาครอบครัวร่วมฉลองในวันสำคัญทางศาสนานี้ และขอ มาอาฟ (Maaf) ซึ่งกันและกันในการกระทำที่ตนเองได้กระทำลงไปต่อผู้อื่นทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม
การถือศิลอด
มุสลิมทุกคนเมื่อบรรลุศาสนภาวะหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นสาวแล้ว
จำเป็นต้องถือศีลอดเว้นแต่บุคคลดังต่อไปนี้
- เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
- คนที่ขาดสติสัมปชัญญะ
- คนชรา
- คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หายหรือ คนป่วยโรคทั่วไปกล่าวคือร่างกายอยู่ในสภาพไมปกติหากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพแต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ฮ่องกงฟุต ไซนัส หรือสุขภาพไม่ดีเพราะหูไม่ได้ยิน
ตามัว ฯลฯ
- หญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมแก่ทารกหรือแม่นมเพราะหญิงเหล่านี้อยู่ในภาวะที่ต้องการอาหาร มาก
- หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอดบุตร
- บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางซึ่งเป็นการลำบากที่จะถือศีลอดการเดินทางในสมัยก่อนลำบากมากเพราะการคมนาคมไม่สะดวกรวดเร็วเช่นใปัจจุบัน
- บุคคลที่ทำงานหนัก เช่นกรรมกรแบกหาม
กรรมกรในเหมืองแร่ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ
และศรัทธาของแต่ละคนว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่หลอกทั้งตัวเองและพระเจ้า
การถือศีลอด
มุสลิมทุกคนต้องถือศีลอดคนละ 1
เดือน คือ ในเดือนที่ 9 ของฮิจเราะฮ.ศักราชซึ่ง เรียกว่าเดือนรอมฎอน
(ปีปฎิทินอิสลามนับจากจันทรคติ)
หลักการปฎิบัติทั่วไปของการถือศีลอด
คืองดเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส
การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำชั่ว ทั้งทั้งทางด้านกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรม ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งหมดแสงอาทิตย์
การกวนขนมอาซูรอ
เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า
"อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม
อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้
จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ
ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน เครื่องปรุงที่สำคัญประกอบด้วย
1. เครื่องแกง มี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผังชี ยี่หร่า
2. ข้าวสาร
3. เกลือ น้ำตาล กะทิ
4. อื่น ๆ เช่น มัน กล้วย (หรือผลไม้อื่น ๆ) เนื้อ ไข่ ส่วนประกอบที่ 4นี้จะใส่อะไรก็ได้ ขอให้เป็น สิ่งที่รับประทานได้เท่านั้น
ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน เครื่องปรุงที่สำคัญประกอบด้วย
1. เครื่องแกง มี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผังชี ยี่หร่า
2. ข้าวสาร
3. เกลือ น้ำตาล กะทิ
4. อื่น ๆ เช่น มัน กล้วย (หรือผลไม้อื่น ๆ) เนื้อ ไข่ ส่วนประกอบที่ 4นี้จะใส่อะไรก็ได้ ขอให้เป็น สิ่งที่รับประทานได้เท่านั้น
วิธีกวนขนมอาซูรอ
ตำหรือบดเครื่องแกงอย่างหยาบ
ๆ เทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกะทะ ใบใหญ่ ปรุงรส ตามใจชอบ เมื่อขนมสุกเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว
ก็ตักใส่ถาด แล้วโรยหน้าด้วยไข่เจียวบางๆ หรืออาจจะ เป็นหน้ากุ้ง เนื้อสมัน
ปลาสมัน ผักชี หอมหั่น แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น ขอขนมเย็นแล้วก็ตัดเป็น ชิ้น ๆ
คล้ายขนมเปียกปูน พร้อมที่จะแจกจ่ายรับประทานกันได้ แต่ก่อนจะรับประทานกัน เจ้าภาพ
จะเชิญบุคคลที่เป็นที่นับถือของชุมชนนั้น ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา)
จากพระผู้เป็นเจ้า เสร็จพิธีแล้ว จึงแจกจ่ายรับประทานกัน
ความเป็นมาของการกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮ (อล.) สมัยนั้นเกิดภาวะ น้ำท่วมใหญ่ ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาขงประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮ (อล.) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ เอามากอง รวมกันเนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้า ด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก กล่าวคือ ขณะที่กองทหารของท่าน กลับจาก การรบที่ "บาดัร" ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของ นบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้ มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานใน หมู่ทหารทั้งปวง
ความเป็นมาของการกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮ (อล.) สมัยนั้นเกิดภาวะ น้ำท่วมใหญ่ ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาขงประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮ (อล.) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ เอามากอง รวมกันเนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้า ด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก กล่าวคือ ขณะที่กองทหารของท่าน กลับจาก การรบที่ "บาดัร" ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของ นบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้ มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานใน หมู่ทหารทั้งปวง
การเข้าสุนัต
เรียกในภาษาอาหรับว่า “คอตั่น” และเรียกในภาษยาวีว่า “มาโซ๊ะยาวี” การเข้าสุนัตคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โดยชายมุสลิมทุกคนจะต้องปฎิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองจึงมักทำการสุหนัตให้แก่ลูกหลานตั้งแต่เด็ก ๆ สำหรับชายที่เข้ามารับศานาอิสลามก็ต้องปฎิบัติเช่นกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)